เมนู

ที่บอกความหมาย. จริงอยู่ นิบาตเหล่านั้น ช่วยขยายความที่จะพึงกล่าวให้
ชัดขึ้น.
เอตํ ศัพท์ในบทว่า เอตํ นี้ มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิด
ตามที่กล่าวแล้ว ในประโยคมีอาทิว่า
ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เห็นอริยสัจ 4
คือ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความพ้นทุกข์
และอริยมรรคมีองค์ 8 อันมีปกติยังผู้ปฏิบัติ
ให้ถึงความพ้นทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ
การถึงสรณะของบุคคลนั้นนั่นแล เป็นที่
พึงอันเกษม นั่นเป็นที่พึ่งอันสูงสุด เพราะ
ว่าบุคคลอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจาก
ทุกข์ทั้งหมด.

แต่ที่มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่ ใน
ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปุถุชนเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระ
ตถาคตพึงกล่าวด้วยคำสรรเสริญ คำสรรเสริญนั่นเป็นเพียงเล็กน้อย เพียงขึ้นต่ำ
เพียงแค่ศีล. อนึ่ง ในที่นี้ เอตํ ศัพท์พึงเห็นว่า ใช้ในความหมายว่า ประจักษ์
ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่นั่นแล. เพราะว่า สูตรที่กำลังกล่าวถึง ด้วย
สามารถแห่งการพิจารณา พระอานนท์เถระผู้ธรรมภัณฑาคาริก ดำรงอยู่แล้ว
ในวุฒิธรรมกล่าวไว้ในครั้งแรกว่า เลตํ ดังนี้.

อธิบายคำว่า ภควา


ในบทว่า ภควตา นี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ บทว่า ภควา เป็น
คำเรียกบุคคลผู้เป็นที่เคารพ. เป็นความจริง คนทั้งหลายในโลกมักเรียกบุคคล

ผู้เป็นที่เคารพว่า ภควา. และพระตถาคต ชื่อว่า เป็นที่เคารพของสัตว์ทั้งหลาย
เพราะทรงวิเศษด้วยสรรพคุณ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ภควา. แม้พระ
โบราณาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด
คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระตถาคตนั้น
ทรงเป็นผู้ควรแก่ความเคารพคารวะ ด้วย
เหตุนั้น จึงขนานพระนานว่า ภควา.

อันที่จริง คำพูดที่ระบุถึงบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด กล่าวกันว่า ประเสริฐ
ที่สุด เพราะดำเนินไปด้วยกันกับคุณอันประเสริฐที่สุด. อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อ
ว่า วจนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคลกล่าว ได้แก่ความหมาย. เพราะเหตุนั้น
ในบทว่า ภควาติ วจนํ เสฏฐํ จึงมีความหมายว่า ความหมายใดที่จะพึง
พูดด้วยคำว่า ภควา นี้ ความหมายนั้นประเสริฐที่สุด. แม้ในบทว่า ภควาติ
วจนมุตฺตมํ
นี้ ก็นัยนี้แล. บทว่า คารวยุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่า ทรงเป็นผู้
ควรแก่ความเคารพคารวะ เพราะทรงประกอบด้วยคุณของบุคคลผู้เป็นที่เคารพ.
อีกประการหนึ่ง พระตถาคต ชื่อว่า ทรงควรแก่ความเคารพ ก็เพราะเหตุที่
ทรงควรซึ่งการการทำความเคารพอย่างดียิ่ง. หมายความว่า ทรงควรแก่ความ
เคารพ. เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า ภควา นี้ จึงเป็นคำเรียกบุคคลผู้วิเศษโดยคุณ
บุคคลผู้สูงสุดกว่าสัตว์ และบุคคลผู้เป็นที่เคารพคารวะ ดังนี้แล.
อีกประการหนึ่ง พึงทราบความหมายของบทว่า ภควา ตามนัยที่มา
ในนิทเทสว่า
พระพุทธเจ้านั้น บัณฑิตขนานพระ
นามว่า ภควา เพราะเหตุที่พระองค์ทรง

มีภคธรรม 1 ทรงมีปกติเสพภคธรรม 1
ทรงมีภาคธรรม 1 ทรงจำแนกแจกแจง
ธรรม 1 ทรงทำลายนามรูป 1 ทรง
เป็นที่เคารพ 1 ทรงมีภาคยธรรม 1
ทรงมีพระองค์อบรมดี แล้วด้วยญายธรรม
จำนวนมาก 1 ทรงถึงที่สุดแห่งภพ 1.

และด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า
เพราะเหตุที่ พระพุทธเจ้าทรงมีภาคย-
ธรรม 1 ทรงมีภัคคธรรม 1 ทรงประกอบ
ด้วยภัคคธรรม 1 ทรงจำแนกแจกแจง
ธรรม 1 ทรงมีคนภักดี 1 ทรงคายการ
ไปในภพทั้งหลาย 1 ฉะนั้น จึงได้รับ
ขนานพระนามว่า ภควา.

ก็ความหมายนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในพุทธานุสตินิทเทส ในวิสุทธิมรรค
อย่างครบถ้วน เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน
วิสุทธิมรรคนั้นเถิด.

ความหมายของภควาอีกนัยหนึ่ง


อีกนัยหนึ่ง. พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ผู้อบรมพุทธกรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภคธรรม
พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี